วิธีฟังดนตรีดี ๆ
“Just Good Music” (บทความนี้มาจาก "กรุงเทพธุรกิจ" ฉบับวันที่ 29/6/2552)
ดนตรีดี ๆ
“ดนตรีมีแค่สองประเภท คือ ดนตรีดี ๆ กับดนตรีแย่ ๆ” – หลุยส์ อาร์มสตรอง, นักดนตรีแจ๊สชื่อดังชาวอเมริกัน
ผมเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างบนนี้ ไม่จำเป็นที่เพลงคลาสสิกจะเพราะน่าฟัง คุณภาพดีไปหมดทุกเพลง (ลองไปหาฟังเพลงบางเพลงที่ไม่ค่อยดังของเบโธเฟ่นสิครับ แล้วคุณจะเข้าใจที่ผมพูด) ในขณะเดียวกัน เพลงป๊อปที่เขียนมาดี ๆ ก็มีเยอะแยะ (ผมชอบ Sting, Queen, The Beatles, Cole Porter, สุนทราภรณ์ ฯลฯ) และผมชอบเพลงแจ๊สบางประเภทมาก
แต่จุดเด่นของดนตรีคลาสสิกคือ มันถูกพิสูจน์มาแล้วด้วยกาลเวลา เป็นที่นิยมมาหลายร้อยปี และที่เด่นอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่มีเชื้อชาติหรือภาษา คนจีนก็ฟัง คนเกาหลีก็ฟัง ฝรั่งก็ฟัง ญี่ปุ่นก็ฟัง
ผมหลงใหลในดนตรีคลาสสิกมาตั้งแต่วัยรุ่น หลงรักอย่างหัวปักหัวปำ เหตุผลก็เพราะ มันเป็นดนตรีที่ฟังแล้วไม่ใช่ซาบซึ้งแค่หัวใจ แต่มันลึกไปถึงจิตวิญญาณและทำให้ผมรู้สึกอิ่มเอิบ จนถึงกับอยากใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่กับมัน และยิ่งมารู้ทีหลังว่า มันยังเป็นดนตรีประเภทเดียวที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นสิ่งดีและมีประโยชน์กับชีวิตมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่า การใช้ชีวิตกับดนตรีคลาสสิกเป็นทางเลือกที่ถูกสำหรับผมแล้ว
อัลบั้ม JUST GOOD MUSIC
เป็นสิ่งที่พิสูจน์กันอย่างไม่มีข้อสงสัยมานานแล้วว่า ดนตรี มีอิทธิพลต่อมนุษย์อย่างมหาศาลทั้งในทางดีและทางไม่ดี ดนตรีบางประเภทสามารถสร้างอารมณ์ให้คนก้าวร้าวถึงขนาดตีกันในระหว่างชมคอนเสิร์ต หรือมีเนื้อเพลงที่ทำให้คนหรือเยาวชนมีพฤติกรรมและความคิดทางลบ เช่น ดนตรีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด เซ็กส์ และความรุนแรงต่าง ๆ ฯลฯ
แต่ดนตรีดี ๆ ก็มีผลดีมหาศาลต่อมนุษย์ มันสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ เปลี่ยนอารมณ์ให้ดีขึ้น กระปรี้กระเปร่าขึ้น ฉลาดขึ้น มีสมาธิมากขึ้น หรือสามารถสื่ออารมณ์อื่น ๆ เช่น ความเศร้า ความรัก ความฮึกเหิม ฯลฯ อัลบั้มนี้เป็นการเชื้อเชิญคุณสู่โลกของดนตรีดี ๆ ให้คุณได้สัมผัสกับศักยภาพของมัน[1]
“คำบ่น” เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิก
ผมพอเข้าใจว่า อุปสรรคบางอย่างของดนตรีคลาสสิกที่ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงยาก คือ ความยาวของเพลง (ทำไมต้องนานเป็นชั่วโมงด้วยนะ?), หาทำนองที่คุ้นหูไม่เจอ, ไม่มีเสียงคนร้อง (บางครั้งมี แต่ร้องเป็นภาษาอะไรเนี่ย?) , ฟังแล้วเบื่อ, ฟังแล้วง่วง, ฟังแล้วเครียด, จำชื่อเพลงไม่ค่อยได้ (เช่น Mozart Symphony No. 25, in G minor, K. 183 ใครจะไปจำได้? ผมเองยังจำไม่ได้เลย คอนดักท์มันมาเป็นสิบๆรอบแล้ว), พิธีรีตรองมากมายเวลาฟังคอนเสิร์ต (ตบมือตอนไหนนะ?, ต้องแต่งตัวหรู ๆ ไปดูด้วยหรือเปล่า?), ไม่เข้าใจว่าฟังยังไงแล้วเพราะ, มีแต่คนแก่ฟังมั้ง, เป็นดนตรีของพวกไฮโซเท่านั้น, ต้องมีการศึกษา ไม่งั้นฟังไม่รู้เรื่องหรอก ฯลฯ
ฟังดนตรีคลาสสิกให้ได้รส
ผมคิดว่า การฟังดนตรีคลาสสิกให้ได้อรรถรส มีปัจจัยสำคัญสองอย่าง คือ หนึ่ง ใช้หัวใจฟัง เลือกฟังเฉพาะเพลงที่ตนเองชอบ เพลงไหนไม่ชอบก็ไม่ต้องฟัง (เพลงคลาสสิกไม่ใช่เพราะทุกเพลง บางเพลงไม่เพราะจะไปเสียเวลาฟังมันทำไม) เพลงที่เพราะสำหรับคนหนึ่ง อาจไม่เพราะสำหรับอีกคนก็ได้
สอง ฟังซ้ำ ๆ เพลงไหนชอบก็ฟังมันบ่อย ๆ เข้า ยิ่งฟังจะยิ่งได้อรรถรสมากขึ้น เป็นธรรมชาติของสิ่งดี ๆ ที่คุณจะเห็นคุณค่ามันมากขึ้นในแต่ละครั้งที่ได้สัมผัส ธรรมชาติของดนตรีคลาสสิกเป็นอย่างนั้น
แค่นั้นเอง อย่าไปคิดว่าต้องศึกษาหาความรู้อะไรก่อนถึงจะซาบซึ้งกับมันได้ ปล่อยให้ความรักของคุณ “โต” ตามธรรมชาติ เพราะเมื่อคุณยิ่งรักสิ่งใด ก็อยากจะหาความรู้เกี่ยวกับมันมากขึ้นเอง
คนบางคน อยากเข้าถึงเพลงคลาสสิกโดยพยายามใช้ “สมอง” เข้าใจก่อน แล้วหัวใจตามมาทีหลัง (“มันเพราะยังไงฟะ?) มีนักวิชาการดนตรีคลาสสิกทำอย่างนี้มากมาย บางครั้งก็ไปเน้นเรื่องพิธีรีตอง (“ห้ามตบมือตอบจบท่อนนะ! ต้องแต่งตัวหรู ๆ ไปดูคอนเสิร์ตนะ! ฯลฯ) ทำให้คนที่อยากฟังดนตรีคลาสสิกเขาไม่อยากแม้จะเริ่ม เพราะมี “อุปสรรค” มากมายเหลือเกิน และการตบมือตอนไหน ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญด้วย สำหรับผม ขอให้คนฟังดนตรีที่เราเล่นแล้วเขาอิ่มเอิบใจ ถ้าเขาชอบจนถึงขนาดอยากตบมือให้ผมกับวงระหว่างเราเล่น ผมยิ่งดีใจ คอนดักเตอร์บางคนทำตาเขียวใส่คนดูถ้าคนดูตบมือผิดที่ (มีครับที่เมืองนอก) มิน่าเล่า ทำไมคนทั่วโลกคิดว่า ดนตรีคลาสสิกมัน “ต้องปีนกระไดฟัง” (แล้วก็เลยไม่ฟังมันซะเลย!)
สำหรับผม ถ้าดนตรีเข้าไม่ถึง “หัวใจ” คนแล้วก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าดนตรีชนิดไหน หรือนักดนตรีคนไหน ไม่ทำให้คนฟังมีอารมณ์คล้อยตาม --ให้พวกเขาตื่นเต้น ร้องไห้ อารมณ์ดี สนุก มันส์ ขนลุก รู้สึกเหมือนได้พบพระเจ้า[2] เหมือนได้อยู่อีกโลกหนึ่ง[3] ฯลฯ ดนตรีนั้นหรือนักดนตรีคนนั้นก็ “ล้มเหลว”
ยกตัวอย่างเช่น ถ้านักดนตรีคนไหนเล่นโน้ตสี่ตัวแรกของซิมโฟนีหมายเลข 5 ของเบโธเฟ่นแล้ว ไม่ทำให้คนฟังรู้สึกอะไรเลย ไม่ทำให้เขารู้สึกตื่นเต้น หรือ ขนลุก หรืออะไรสักอย่างได้ การอธิบายโน้ตหรือประวัติศาสตร์ดนตรีหรือแจกแจงว่าทำไมถึงควรจะฟังเพลงนี้ ก็ไม่มีประโยชน์ ไม่ช่วย
สรุปแล้ว หาเพลงที่เข้าถึงหัวใจคุณก่อนเป็นอย่างแรก อาจเป็นทำนองที่โดนใจ จังหวะที่เร้าใจ เสียงกระหึ่มของวงออร์เคสตร้าที่เล่นพร้อมกันทั้งวง ฯลฯ แล้วก็ฟังเพลงนั้นแหละ บ่อย ๆ (ตอนเด็ก ๆ ผมทำแผ่นรวมฮิตให้กับตนเอง โดยตัดเอาตอนที่ “น่าเบื่อ อืดอาด” ออกหมด แล้วฟังเป็นร้อย ๆ รอบ)
บัณฑิต อึ้งรังษี เป็นคอนดักเตอร์ระดับโลก บทความข้างบนคัดมาจาก booklet ของอัลบั้มใหม่ของผู้เขียน “Just Good Music” วางจำหน่ายที่ซีเอ็ด และ B2S
สำหรับการรวบรวมเพลงคลาสสิกที่มีประโยชน์ต่อชีวิตในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาสมอง ผมแนะนำซีดี Mozart Effect ซึ่งเป็นที่นิยมมากในอเมริกา
[2] ลองฟัง Hallelujah Chorus ของ Handel สิครับ
[3] ดนตรีของโมสาร์ททำให้ผมรู้สึกอย่างนั้น !
“Just Good Music” (บทความนี้มาจาก "กรุงเทพธุรกิจ" ฉบับวันที่ 29/6/2552)
ดนตรีดี ๆ
“ดนตรีมีแค่สองประเภท คือ ดนตรีดี ๆ กับดนตรีแย่ ๆ” – หลุยส์ อาร์มสตรอง, นักดนตรีแจ๊สชื่อดังชาวอเมริกัน
ผมเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างบนนี้ ไม่จำเป็นที่เพลงคลาสสิกจะเพราะน่าฟัง คุณภาพดีไปหมดทุกเพลง (ลองไปหาฟังเพลงบางเพลงที่ไม่ค่อยดังของเบโธเฟ่นสิครับ แล้วคุณจะเข้าใจที่ผมพูด) ในขณะเดียวกัน เพลงป๊อปที่เขียนมาดี ๆ ก็มีเยอะแยะ (ผมชอบ Sting, Queen, The Beatles, Cole Porter, สุนทราภรณ์ ฯลฯ) และผมชอบเพลงแจ๊สบางประเภทมาก
แต่จุดเด่นของดนตรีคลาสสิกคือ มันถูกพิสูจน์มาแล้วด้วยกาลเวลา เป็นที่นิยมมาหลายร้อยปี และที่เด่นอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่มีเชื้อชาติหรือภาษา คนจีนก็ฟัง คนเกาหลีก็ฟัง ฝรั่งก็ฟัง ญี่ปุ่นก็ฟัง
ผมหลงใหลในดนตรีคลาสสิกมาตั้งแต่วัยรุ่น หลงรักอย่างหัวปักหัวปำ เหตุผลก็เพราะ มันเป็นดนตรีที่ฟังแล้วไม่ใช่ซาบซึ้งแค่หัวใจ แต่มันลึกไปถึงจิตวิญญาณและทำให้ผมรู้สึกอิ่มเอิบ จนถึงกับอยากใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่กับมัน และยิ่งมารู้ทีหลังว่า มันยังเป็นดนตรีประเภทเดียวที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นสิ่งดีและมีประโยชน์กับชีวิตมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่า การใช้ชีวิตกับดนตรีคลาสสิกเป็นทางเลือกที่ถูกสำหรับผมแล้ว
อัลบั้ม JUST GOOD MUSIC
เป็นสิ่งที่พิสูจน์กันอย่างไม่มีข้อสงสัยมานานแล้วว่า ดนตรี มีอิทธิพลต่อมนุษย์อย่างมหาศาลทั้งในทางดีและทางไม่ดี ดนตรีบางประเภทสามารถสร้างอารมณ์ให้คนก้าวร้าวถึงขนาดตีกันในระหว่างชมคอนเสิร์ต หรือมีเนื้อเพลงที่ทำให้คนหรือเยาวชนมีพฤติกรรมและความคิดทางลบ เช่น ดนตรีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด เซ็กส์ และความรุนแรงต่าง ๆ ฯลฯ
แต่ดนตรีดี ๆ ก็มีผลดีมหาศาลต่อมนุษย์ มันสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ เปลี่ยนอารมณ์ให้ดีขึ้น กระปรี้กระเปร่าขึ้น ฉลาดขึ้น มีสมาธิมากขึ้น หรือสามารถสื่ออารมณ์อื่น ๆ เช่น ความเศร้า ความรัก ความฮึกเหิม ฯลฯ อัลบั้มนี้เป็นการเชื้อเชิญคุณสู่โลกของดนตรีดี ๆ ให้คุณได้สัมผัสกับศักยภาพของมัน[1]
“คำบ่น” เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิก
ผมพอเข้าใจว่า อุปสรรคบางอย่างของดนตรีคลาสสิกที่ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงยาก คือ ความยาวของเพลง (ทำไมต้องนานเป็นชั่วโมงด้วยนะ?), หาทำนองที่คุ้นหูไม่เจอ, ไม่มีเสียงคนร้อง (บางครั้งมี แต่ร้องเป็นภาษาอะไรเนี่ย?) , ฟังแล้วเบื่อ, ฟังแล้วง่วง, ฟังแล้วเครียด, จำชื่อเพลงไม่ค่อยได้ (เช่น Mozart Symphony No. 25, in G minor, K. 183 ใครจะไปจำได้? ผมเองยังจำไม่ได้เลย คอนดักท์มันมาเป็นสิบๆรอบแล้ว), พิธีรีตรองมากมายเวลาฟังคอนเสิร์ต (ตบมือตอนไหนนะ?, ต้องแต่งตัวหรู ๆ ไปดูด้วยหรือเปล่า?), ไม่เข้าใจว่าฟังยังไงแล้วเพราะ, มีแต่คนแก่ฟังมั้ง, เป็นดนตรีของพวกไฮโซเท่านั้น, ต้องมีการศึกษา ไม่งั้นฟังไม่รู้เรื่องหรอก ฯลฯ
ฟังดนตรีคลาสสิกให้ได้รส
ผมคิดว่า การฟังดนตรีคลาสสิกให้ได้อรรถรส มีปัจจัยสำคัญสองอย่าง คือ หนึ่ง ใช้หัวใจฟัง เลือกฟังเฉพาะเพลงที่ตนเองชอบ เพลงไหนไม่ชอบก็ไม่ต้องฟัง (เพลงคลาสสิกไม่ใช่เพราะทุกเพลง บางเพลงไม่เพราะจะไปเสียเวลาฟังมันทำไม) เพลงที่เพราะสำหรับคนหนึ่ง อาจไม่เพราะสำหรับอีกคนก็ได้
สอง ฟังซ้ำ ๆ เพลงไหนชอบก็ฟังมันบ่อย ๆ เข้า ยิ่งฟังจะยิ่งได้อรรถรสมากขึ้น เป็นธรรมชาติของสิ่งดี ๆ ที่คุณจะเห็นคุณค่ามันมากขึ้นในแต่ละครั้งที่ได้สัมผัส ธรรมชาติของดนตรีคลาสสิกเป็นอย่างนั้น
แค่นั้นเอง อย่าไปคิดว่าต้องศึกษาหาความรู้อะไรก่อนถึงจะซาบซึ้งกับมันได้ ปล่อยให้ความรักของคุณ “โต” ตามธรรมชาติ เพราะเมื่อคุณยิ่งรักสิ่งใด ก็อยากจะหาความรู้เกี่ยวกับมันมากขึ้นเอง
คนบางคน อยากเข้าถึงเพลงคลาสสิกโดยพยายามใช้ “สมอง” เข้าใจก่อน แล้วหัวใจตามมาทีหลัง (“มันเพราะยังไงฟะ?) มีนักวิชาการดนตรีคลาสสิกทำอย่างนี้มากมาย บางครั้งก็ไปเน้นเรื่องพิธีรีตอง (“ห้ามตบมือตอบจบท่อนนะ! ต้องแต่งตัวหรู ๆ ไปดูคอนเสิร์ตนะ! ฯลฯ) ทำให้คนที่อยากฟังดนตรีคลาสสิกเขาไม่อยากแม้จะเริ่ม เพราะมี “อุปสรรค” มากมายเหลือเกิน และการตบมือตอนไหน ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญด้วย สำหรับผม ขอให้คนฟังดนตรีที่เราเล่นแล้วเขาอิ่มเอิบใจ ถ้าเขาชอบจนถึงขนาดอยากตบมือให้ผมกับวงระหว่างเราเล่น ผมยิ่งดีใจ คอนดักเตอร์บางคนทำตาเขียวใส่คนดูถ้าคนดูตบมือผิดที่ (มีครับที่เมืองนอก) มิน่าเล่า ทำไมคนทั่วโลกคิดว่า ดนตรีคลาสสิกมัน “ต้องปีนกระไดฟัง” (แล้วก็เลยไม่ฟังมันซะเลย!)
สำหรับผม ถ้าดนตรีเข้าไม่ถึง “หัวใจ” คนแล้วก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าดนตรีชนิดไหน หรือนักดนตรีคนไหน ไม่ทำให้คนฟังมีอารมณ์คล้อยตาม --ให้พวกเขาตื่นเต้น ร้องไห้ อารมณ์ดี สนุก มันส์ ขนลุก รู้สึกเหมือนได้พบพระเจ้า[2] เหมือนได้อยู่อีกโลกหนึ่ง[3] ฯลฯ ดนตรีนั้นหรือนักดนตรีคนนั้นก็ “ล้มเหลว”
ยกตัวอย่างเช่น ถ้านักดนตรีคนไหนเล่นโน้ตสี่ตัวแรกของซิมโฟนีหมายเลข 5 ของเบโธเฟ่นแล้ว ไม่ทำให้คนฟังรู้สึกอะไรเลย ไม่ทำให้เขารู้สึกตื่นเต้น หรือ ขนลุก หรืออะไรสักอย่างได้ การอธิบายโน้ตหรือประวัติศาสตร์ดนตรีหรือแจกแจงว่าทำไมถึงควรจะฟังเพลงนี้ ก็ไม่มีประโยชน์ ไม่ช่วย
สรุปแล้ว หาเพลงที่เข้าถึงหัวใจคุณก่อนเป็นอย่างแรก อาจเป็นทำนองที่โดนใจ จังหวะที่เร้าใจ เสียงกระหึ่มของวงออร์เคสตร้าที่เล่นพร้อมกันทั้งวง ฯลฯ แล้วก็ฟังเพลงนั้นแหละ บ่อย ๆ (ตอนเด็ก ๆ ผมทำแผ่นรวมฮิตให้กับตนเอง โดยตัดเอาตอนที่ “น่าเบื่อ อืดอาด” ออกหมด แล้วฟังเป็นร้อย ๆ รอบ)
บัณฑิต อึ้งรังษี เป็นคอนดักเตอร์ระดับโลก บทความข้างบนคัดมาจาก booklet ของอัลบั้มใหม่ของผู้เขียน “Just Good Music” วางจำหน่ายที่ซีเอ็ด และ B2S
สำหรับการรวบรวมเพลงคลาสสิกที่มีประโยชน์ต่อชีวิตในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาสมอง ผมแนะนำซีดี Mozart Effect ซึ่งเป็นที่นิยมมากในอเมริกา
[2] ลองฟัง Hallelujah Chorus ของ Handel สิครับ
[3] ดนตรีของโมสาร์ททำให้ผมรู้สึกอย่างนั้น !
1 comment:
ผมซื้อมาแล้วเปิดกับคอมไม่ได้อะครับ ทำไงดี บ้านไม่มีเครื่องเล่นCD
Post a Comment